วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 7 CPU




อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เรื่อง CPU


สัปดาห์ที่ 6 Mainboard



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Mainboard

สัปดาห์ที่ 5 เพิ่มข้อมูลลงใน blogger ลิงค์ไปที่ อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ เรื่อง hard disk

สัปดาห์ที่ 4 เพิ่มข้อมูลความรู้ลงใน blogger ลิงค์ไปที่ อุปกรณ์ประกอบของคอมพิวเตอร์

สัปดาห์ที่ 3 เรื่องอุปกรณ์ประกอบของคอมพิวเตอร์

สัปดาห์ที่ 2 ปรับแต่ง blogger gmail , Link add friend

1.ขั้นตอนแรกเข้า www.blogspot.com
2.ใส่ Username และ Password เพื่อเข้าใช้
3.click แผงควบคุม
4.click รูปแบบ
5.click ที่ เพิ่ม Gadget
6.click รายชื่อลิงค์
7.จะปรากฏหน้าต่างเพื่อเพิ่มลิงค์ ให้ตั้งชื่อหัวข้อก่อน ,นำ URL ของผู้ที่จะติดต่อมาใส่ ,ใส่ชื่อเว็บไซด์ของผู้ติดต่อ
8.เมื่อเพิ่มลิงค์เสร็จแล้ว กดบันทึกเป็นอันเสร็จสิ้น

สัปดาห์ที่ 1 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ท่านรู้จัก

1.Ram
2.Vga
3.Hard disk
4.CPU
5.Speaker
6.Mouse

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวภูกระดึง ขุนเขามหัศจรรย์แห่งเมืองเลย




ภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต
สำหรับการเดินทางขึ้นภูกระดึงนั้น ทางอุทยานฯ จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทางอุทยานฯ จะไม่อนุญาต เพราะระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทาง ดังนั้น อาจจะทำให้เกิดความยากลำบาก อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย
จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง
ผานกแอ่น... เป็นลานหินเล็กๆ มีสนต้นหนึ่ง ขึ้นโดดเด่นอยู่ริมหน้าผา เป็นจุดท่องเที่ยวชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่สำคัญอยู่จากที่พักศูนย์วังกวางเพียง 2 กิโลเมตร ในทุกเช้าของหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปกันมากและ มักจะมีการชิงทำเลดีๆ เสมอ สมัยนี้ทางไปมักมีช้างอาละวาด ตอนเช้าจะต้องไปพร้อมเจ้าหน้าที่เสมอ ห้ามไปเอง เป็นอันขาด นอกจากนั้น หากอากาศดีพอ ในช่วงเวลาที่เดินเท้าฝ่าความมืดมาชมพระอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับ เวลาที่พระจันทร์กำลังจะลับขอบฟ้า ด้านตะวันตกนั้นจะได้เห็นภาพสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ ซึ่งจะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือน มีนาคม-เมษายน และใครที่อยากไปชมประอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ควรเตรียมไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางไปด้วย
ผาหล่มสัก... ถ้าไม่มาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่ ก็เหมือนไม่ได้มาเยือนภูกระดึง …หลายคนถึงกับออกปากไว้แบบนั้น ตัวผาหล่มสักอยู่ห่างจากผาแดง 2.5 กิโลเมตร หากเดินมาจากแยกศูนย์โทรคมนาคมกองทัพอากาศ บนเส้นทางน้ำตก แต่ถ้าเดินจากที่พักศูนย์วังกวาง จะมีระยะประมาณ 9 กิโลเมตร หากจะมาต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะขากลับจะมืดกลางทางอย่างแน่นอน
ด้วยลักษณะแผ่นหินแปลกตากับโค้งกิ่งสนที่รองรับกันพอดิบพอดีเช่นนี้ นักท่องเที่ยวจึงนิยมจะใช้เป็นจุดชมวิว ดูดวงอาทิตย์ตกดิน และน่าจะถือได้ว่าเป็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่จะไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
ผาหมากดูก... อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก
น้ำตกวังกวาง... ชื่อก็บอกอยู่แล้ว น้ำตกวังกวางอยู่ใกล้ที่พักศูนย์วังกวางมากที่สุด โดยมีระยะทางห่างแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้นเอง ห้วยเล็กๆ ที่โอบล้อมที่พักอีกด้านจะไหลลงน้ำตกที่นี่ วังกวางเป็นน้ำตกเล็กๆ ชั้นที่สูงสุด จะสูงประมาณ 7 เมตร ด้านข้างของน้ำตกมีทางแคบๆ สำหรับปีนลงไปทีละคน จะพบหลืบหินมีลักษณะคล้ายถ้ำใต้น้ำตกน้ำตกวังกวางจะมีความสวยงามมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม บริเวณนี้จะมีทากชุม เพราะเป็นด่านช้าง หรือทางช้างเดิน ส่วนในฤดูท่องเที่ยวซึ่งเป็นฤดูแล้ง ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ง่ายใกล้ที่พัก
น้ำตกถ้ำสอเหนือ... อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตกมีดงกุหลาบแดงซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น
น้ำตกเพ็ญพบใหม่... เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตกจะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่านลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
สระอโนดาด... อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.7 กิโลเมตร เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่นักที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ใกล้กันยังมีลานกินรี ซึ่งเป็นสวนหินธรรมชาติที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ทั้งพวกกินแมลงอย่างดุสิตา หยาดน้ำค้าง หรือเฟิร์น เช่น กระปรอกสิงห์ บนหินยังมีไลเคนขึ้นอยู่เต็มไปหมดด้วย นอกจากที่เอ่ยมาแล้ว อุทยานแห่งชาติภูกระดึงยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกรัตนา น้ำตกถ้ำสอเหนือ น้ำตกพระองค์ น้ำตกธารสวรรค์ ผาแดง ผาส่องโลก ผานาน้อย ผาจำศีล สวนสีดา ลานกินรี ลานวัดพระแก้ว และอีกมากมายบรรยายกันไม่หมด ดังนั้น ใครที่ชอบเดินป่า ปีนเขา และสัมผัสธรรมชาติแบบถึงเนื้อถึงตัว ภูกระดึงคงเป็นอีกหนึ่งสถานที่คุณจะพลาดไม่ได้ค่ะนอกจากที่เอ่ยมาแล้ว อุทยานแห่งชาติภูกระดึงยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกรัตนา น้ำตกถ้ำสอเหนือ น้ำตกพระองค์ น้ำตกธารสวรรค์ ผาแดง ผาส่องโลก ผานาน้อย ผาจำศีล สวนสีดา ลานกินรี ลานวัดพระแก้ว และอีกมากมายบรรยายกันไม่หมด ดังนั้น ใครที่ชอบเดินป่า ปีนเขา และสัมผัสธรรมชาติแบบถึงเนื้อถึงตัว ภูกระดึงคงเป็นอีกหนึ่งสถานที่คุณจะพลาดไม่ได้ค่ะ
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ผานกเค้า ซึ่งเป็นเขตต่อแดนระหว่างชุมแพ-ภูกระดึง แล้วโดยสารรถประจำทาง(รถสองแถว) ไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึงควรใช้รถประจำ หรือหากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ลงที่ชุมแพ และต่อรถสายขอนแก่น-เลย ไปลงที่ตลาดอำเภอภูกระดึง ซึ่งจะมีรถสองแถวต่อถึงไปอุทยานฯ
ปล.รถสองแถวแดงที่รับจ้างนำนักท่องเที่ยวส่งระหว่างจุดจอดรถที่ผานกเค้ามาที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง คำแนะนำคือ ถ้าเรามาไม่กี่คนให้รวมทีมกับกรุ๊ปอื่นจะได้เฉลี่ยค่าสองแถวไม่ต้องเหมารถให้เปลืองสตางค์
รถไฟ
จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลย ไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถว หรือเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นยอดภู อีก 5 กิโลเมตร จึงจะถึง “หลังแป” แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึงทางอุทยานฯ ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึง คิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม
รถส่วนตัว เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง 1. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 2. ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 3. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

พายุต่าง







พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ประเภทของพายุ
พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
2.1 พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
2.2 พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น เกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)
2.3 พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
อนึ่ง พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว และพายุหมุนเขตร้อนคือพายุชนิดเดียวกันแต่มีชื่อเรียกต่างกันไปตามถิ่นที่เกิดเท่านั้น ชื่อเรียกกลางคือ “พายุหมุนเขตร้อน” (Tropical cyclone)
2.4. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
2.5 พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

3. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง
ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตก เฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น
พายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง และเป็นบริเวณกว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า ตาพายุ เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้าง เล็กน้อยล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนักและพายุลมแรง ลมแรงพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน
เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียคนหนึ่งชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วๆ ไป โดยมี 2 แบบ
แบบที่หนึ่ง ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน แบบที่สองชื่อนักการเมืองเพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมา ให้เช่นเดียวกับพายุหมุน
เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพของอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ
จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2493 ได้มีการตกลงกันว่าให้ตั้งชื่อพายุไล่ตามตัวอักษร A-Z (เช่น Able, Baker, Charlie…) แต่อีก 3 ปีต่อมาก็เปลี่ยนใจเลือกแต่เฉพาะชื่อสตรี (ตัวอย่าง Alice, Barbara…) วิธีการนี้ใช้ไปได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2521 (บ้างก็ว่า 2522) จึงได้มีชื่อบุรุษเป็นชื่อพายุบ้าง
จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ (ไม่เอาเฉพาะแต่ชื่อฝรั่ง) โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ

ลักษณะทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย (Tropical cyclone in Thailand)
พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิด ขึ้นในมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 ํซ. หรือ 27 ํซ. ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก
พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด
ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กม./ชม.)
พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กม./ชม.) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กม./ชม.)
ไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กม./ชม.) ขึ้นไป

การนำชื่อที่เตรียมไว้มาใช้
ข้อตกลงคือ พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ ตัวอย่างเช่น พายุลูกปัจจุบันคือ ดอมเรย์ลูกต่อไปก็จะชื่อ หลงหวาง ไคโรจิ… ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นรีไซเคิลชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก
การตั้งชื่อพายุ
1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน
3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา
4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป
5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1


กฎน่ารู้
มีกฎย่อยอยู่ข้อหนึ่งว่า หากพายุลูกไหนรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดเกษียณชื่อพายุ ลูกนั้นไปแล้วตั้งชื่อใหม่เข้าไปในรายการชื่อแทน ตัวอย่างเช่น เฮอร์ริเคนแอนดรูว์ (Andrew) ซึ่งโดนปลดมาแล้วในบ้านเรา คือ ทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือ (Western North